บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560
เวลา 08.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษา
•การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
•การศึกษาพิเศษ (Special Education)
•การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
•การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
•เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม
กับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
•การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
•มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
•ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
•ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
•การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
•เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
•เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
•การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
•เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
•มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน
และกัน
•เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง
ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
•การศึกษาสำหรับทุกคน
•รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
•จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
การวาดรูปดอกบัวตามแบบโดยให้เราเก็บรายละเอียดของภาพให้ได้มากที่สุด เปรียบเสมือนการสังเกตุเด็ก ที่เราต้องสังเกตุเด็กอย่างละเอียดและมีความครบถ้วนสมบูรณ์
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
•การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
•จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก(จะทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อย)
•เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
•ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
•เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
•พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
•พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
•ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
•ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
•ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เราได้รู้ถึงความแตกต่างระหว่างการเรียนรวมและการเรียนร่วม รู้ถึงบทบาทของครูว่า
มีหน้าที่อย่างไร ทและเราได้รู้จักการสังเกตมากยิ่งขึ้น ฝึกให้สังเกตและเก็บรายละเอียดต่างๆ
ประเมินผล
ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึก ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียนและตั้งใจวาดรูปดอกบัว ไม่พูดคุยเสียงดัง
ประเมินอาจารย์
มีกิจกรรมมาให้ทำ ทำให้การเรียนไม่ตึงเครียด บรรยเป็นกันเองและสนุกสนาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น